ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกคณะดอมินิกัน

คณะดอมินิกัน ยินดีต้อนรับทุกท่าน ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ถึงประวัติและจิตตารมณ์ของ ท่านนักบุญดอมินิก ผู้สถาปนาคณะนักบวชดอมินิกันตั้งแต่ ปีค.ศ.1216 และสืบสานพันธกิจเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน



วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

Salvae Regina

เพลง Salvae Regina เป็นบทเพลงสรรเสริญแม่พระ
คณะดอมินิกัน ได้ยึดถือเป็นธรรมเนียมตั้งแต่ใน ศตวรรษที่ 13 โดยท่านบุญราศรีจอร์แดน แห่ง แซกซอนี (Blessed Jordan of Saxony) เจ้าคณะที่คนที่ 2 ซึ่งสืบทอดตำแหน่งต่อจาก นักบุญดอมินิก ให้สมาชิกทุกคนขับร้องบทเพลงนี้หลังสวดทำวัตรค่ำเพื่อสรรเสริญพระแม่ และฝากพันธกิจแห่งการเทศน์สอนใว้ในความช่วยเหลือของพระนาง




เนื้อเพลงเป็นดังนี้
ภาษาลาติน

Salve Regina, Mater misericordiae, Vita dulcedo et spes nostra salve. Ad te clamamus exsules filii Hevae. Ad te suspiramus gementes et flentes, in hac lacrimarum valle. Eja ergo advocata nostra, illos tuos misericordes oculos ad nos converte. Et Jesum benedictum fructum ventris tui nobis post hoc exsilium ostende. O clemens, o pia, o dulcis Virgo Maria.


ภาษาอังกฤษ
Hail holy queen, mother of mercy,Hail our life, our sweetness and our hope.To you do we cry poor banished children of Eve,To you do we send up our sighs, mourning and weeping in this valley of tears.Turn then, most gracious advocateyour eyes of mercy toward us. And after this, our exile,Show us the fruit of your womb, Jesus.O clement, O loving, O sweet Virgin Mary.



O Lumen Ecclesiae

เพลง O Lumen Ecclesiae เป็นเพลงสรรเสริญท่านนักบุญดอมินิก
ฐานะปราชญ์แห่งพระศาสนจักร และบิดาของสมาชิกคณะดอมินิกัน เราจะขับเพลงนี้ทุกครั้ง หลังจากขับเพลง Salvae Regina แล้ว






เนื้อร้องภาษาลาติน ความหมายภาษาอังกฤษ
O lumen Ecclesiae Light of the Church,
Doctor veritatis, Teacher of truth,
Rosa patientiae, Rose of patience,
Ebur castitatis, Ivory of chastity,
Aquam sapientiae You freely offered
propinasti gratis, The waters of wisdom,
Praedicator gratiae, Preacher of grace,
nos junge beatis. Unite us with the blessed.


วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2552

เสาหลักสี่ประการของนักบวชดอมินิกัน

เสาหลักสี่ประการของนักบวชดอมินิกัน (4 Pillars)

รูปแบบชีวิตที่เป็นดังเสาหลักสำคัญสี่ประการ ซึ่งจะช่วยให้นักบวชดอมินิกันสามารถเจริญชีวิตตามคำแนะนำแห่งพระวรสาร และพันธกิจตามแบบอย่างท่านนักบุญดอมินิก ซึ่งต้องหล่อเลี้ยงและบูรณาการสี่ด้านนี้เข้าด้วยกันในชีวิตประจำวัน เพื่อจะสามารถทำพันธกิจสำคัญในการประกาศ เทศน์สอนได้

1.การภาวนา (Prayer)

ชีวิตของนักบวชดอมินิกัน มีการภาวนาเป็นจุดศูนย์กลางของชีวิต ซึ่งมุ่งไปยังการภาวนาต่อองค์พระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นแสงสว่างเที่ยงแท้ การภาวนาของนักบวชดอมินิกันถูกขับเคลื่อนโดยองค์พระจิตเจ้า นักบวชดอมินิกันเริ่มต้นทุกๆ วันใหม่ด้วยการร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ การภาวนา การรำพึงพระวาจา การศึกษาพระคัมภีร์ และแสดงออกถึงการบูรณาการเหล่านี้โดยการเทศน์สอน
นักบวชดอมินิกันถูกเรียกร้องให้มีการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลกันระหว่างชีวิตภายใจ และการแสดงออกภายนอก ที่สอดประสานกันอย่างกลมกลืน โดยอาศัยความช่วยเหลือและพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า




2.ชีวิตหมู่คณะ (Community life)

นักบวชดอมินิกันดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ตามที่มีระบุไว้ใน “พระวินัยของนักบุญออกัสติน” ซึ่งเรียกร้องให้นักบวชอยู่ร่วมกันอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน “one mind and one heart in God.” ดังที่คริสตชนสมัยแรกเริ่มได้ดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่าง การดำเนินชีวิตหมู่คณะในฐานะนักบวช สะท้อนถึงการแบ่งปันพระพรของพระเป็นเจ้าที่แต่ละคนมีให้แก่กันและกัน




3.การศึกษา (Study)

ท่านนักบุญดอมินิกเน้นย้ำเรื่องการศึกษาเป็นดังแก่นสำคัญเพื่อจะทำหน้าที่ “เทศน์สอน” ดังนั้น นักบวชดอมินิกัน จึงมุ่งอุทิศตนเพื่อการศึกษาถ้อยคำลึกซึ้งในพระวาจาของพระเจ้า ท่านนักบุญดอมินิก ส่งสมาชิกนักบวชของท่านไปศึกษายังมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อให้ได้ความรู้และเป็นผู้เชี่ยวชาญสามารถเทศน์สอนได้ เนื่องจากในสมัยของท่านนักบุญดอมินิกนั้น บรรดาพระสงฆ์เป็นผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษาอย่างเพียงพอ และไม่มีหน้าที่ในการเทศน์สอน เนื่องจากหน้าที่เหล่านี้ถูกสงวนไว้สำหรับพระสังฆราชเท่านั้น นักบวชคณะดอมินิกัน ได้รับอำนาจในการเทศน์สอนจากพระสังฆราช สังเกตได้จากเครื่องแบบที่ใส่ มีผ้าคลุมบ่า (scapula) เหมือนกับอาภรณ์ของพระสังฆราช


4.พันธกิจ (Ministry)

นักบวชดอมินิกันสืบสานพันธกิจของพระเยซูคริสตเจ้า ตามแบบอย่างของท่านนักบุญดอมินิก พันธกิจเหล่านั้นได้แก่ การเทศน์สอน การเป็นอาจารย์ การทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ต่างๆ การเป็นจิตตาภิบาลในสถาบันการศึกษาทั้งมหาวิทยาลัย โรงเรียนต่างๆ รวมถึงการเป็นผู้นำเข้าเงียบ พันธกิจเหล่านี้เรียกร้องรูปแบบชีวิตที่สอดประสานกันทั้งการภาวนา การศึกษา และชีวิตหมู่คณะ

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

เตรียมฉลอง 800 ปี คณะดอมินิกัน ค.ศ.2016


การเตรียมเฉลิมฉลอง 800 ปี แห่งการก่อตั้งคณะดอมินิกัน
หัวข้อหลักในการไตร่ตรอง “วิบัติแก่ข้าพเจ้าหากไม่ประกาศข่าวดี” (1คร 9:16)

การเตรียมตัวเฉลิมฉลองในแต่ละปี
ปี ค.ศ.2009 “เมื่อแรกเริ่มนั้น พระวจนาตถ์ทรงดำรงอยู่แล้ว” (ยน 1:1)
นักบุญดอมินิกนักเทศน์สอนแห่งพระหรรษทาน
ปี ค.ศ.2010 “จะมีผู้ประกาศสอนได้อย่างไรถ้าไม่มีใครส่งไป” (รม 10:15)
พันธกิจในการเทศน์สอน
ปี ค.ศ.2011 “พวกเราได้ยินคนเหล่านี้ประกาศกิจการอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าในภาษาของเรา”
(กจ 2:11)
การเทศน์สอนและวัฒนธรรม ชุมชนแห่งการเทศน์สอน
ปี ค.ศ.2012 “จงไปและบอกกับพี่น้องของเรา...” (ยน 20:17)
นักบวชหญิงดอมินิกันและการเทศน์สอน
ปี ค.ศ.2013 “ขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” (ลก 1:38)
พระแม่มารีย์ ผู้เพ่งภาวนาและประกาศพระวาจา
ปี ค.ศ.2014 “บุตรและธิดาของท่านจะประกาศ ผู้อาวุโสจะฝันถึงความฝัน
และคนหนุ่มจะเห็นภาพนิมิต” (โยแอล 3:1)
คณะฆราวาสดอมินิกันและการเทศน์สอน
ปี ค.ศ.2015 -“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง
ท่านจะรู้ความจริง และความจริงจะทำให้ท่านเป็นอิสระ” (ยน 8:31-32)
-“พระคริสต์เจ้าทรงปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระ” (ยน 5:1)
คณะดอมินิกัน : การปกครอง ชีวิตฝ่ายจิต และอิสรภาพ
ปี ค.ศ.2016 “วิบัติแก่ข้าพเจ้าหากไม่ประกาศข่าวดี” (1 คร 9:16)
คณะดอมินิกัน วานนี้ วันนี้และตลอดไป

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประวัตินักบุญดอมินิก

นักบุญดอมินิก (Saint Dominic) ชื่อเดิมคือ “ดอมินิก เดอ กู๊ซมาน” ผู้ก่อตั้งคณะนักเทศน์ (Order of Preachers) หรือคณะดอมินิกัน (Domicans) ท่านเกิดเมื่อปี ค.ศ.1170 ณ เมืองคาเลรูเวกา (Caleruega) ประเทศสเปน บิดาของท่านชื่อ เฟลิกส์ เดอ กู๊สมาน เป็นผู้ครองปราสาทหลังหนึ่งในเมืองคาเลรูเวกา ซึ่งตั้งอยู่ในแถบชายแดนของประเทศสเปน มารดาของท่านชื่อ บุญราศรีเจน แห่ง อาซา (Blessed Jane of Aza; 1140-1202)
ชีวิตในวัยเด็กของท่านนักบุญดอมินิก เมื่อท่านเกิดมานั้นพี่ชายของท่านสองคน คือ แอนโทนี (Anthony) และ มาแนส (Manez) กำลังเรียนเพื่อเตรียมตัวเป็นพระสงฆ์อยู่ ดังนั้นบิดาของท่านจึงปรารถนาให้ท่านนักบุญดอมินิกเป็นนักรบ เพื่อจะปกครองปราสาทต่อไป แต่เหตุการณ์ไม่เป็นเช่นนั้นหลังจากที่ท่านสำเร็จการศึกษาจาก University of Palencia ในประเทศสเปน ท่านก็บวชเป็นพระสงฆ์โดยรับการศึกษาจากลุงของท่านซึ่งเป็นพระสงฆ์อยู่ก่อนแล้ว และภายหลังจึงสมัครเข้าเป็นนักบวชคณะออกัสติเนียน (Augustinian Canons) ในเขตสังฆมณฑลออสมา (The Diocese of Osma) ตามตำนานการกำเนิดของท่านกล่าวถึงเหตุการณ์หนึ่ง ขณะที่มารดาของท่านตั้งครรภ์ท่านอยู่นั้น นางได้ฝันเห็นสุนัขคาบคบเพลิง และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อ “ดอมินิก” คำในภาษาลาตินคือ คำว่า Domini แปลว่า “ของพระเจ้า” และคำว่า Canis แปลว่า “สุนัข” รวมกันหมายถึง “สุนัขของพระเจ้า” ซึ่งหมายถึงท่านนักบุญดอนิมินัก ที่ทำหน้าที่ปกป้องพระศาสนจักรในพระนามของพระเจ้า ด้วยการนำแสงสว่างอันเป็นคำเทศน์สอนและถ้อยคำแห่งความจริงไปป่าวประกาศ เราจะเห็นสัญลักษณ์ซึ่งปรากฎอยู่กับท่านนักบุญคือ “รูปสุนัขคาบคบเพลิง”

ชีวิตอันสุขสงบภายในอารามคณะออกัสติเนียนของนักบุญดอมินิกต้องสิ้นสุดลง เมื่อพระสังฆราชแห่งเมืองออสมา (Bishop Diego de Acebo) ได้สั่งให้ท่านร่วมเดินทางเพื่อไปเจรจาทางการทูตกับกองทัพของพวกเดนมาร์ก ระหว่างการเดินทางนี้เองขณะที่เข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส ท่านได้พบกับเฮเรติ๊ก (ผู้ที่สอนผิดความเชื่อ) กลุ่มที่มีชื่อว่า “อัลบีเจนเซียน (Albegensians)” ซึ่งอิทธิพลด้านความคิดของกลุ่มนี้กำลังแพร่กระจายไปทั่วตอนใต้ของฝรั่งเศส ท่านนักบุญจึงมีความปรารถนาที่จะเทศน์สอนคนเหล่านี้ให้กลับใจมาสู่หนทางแห่งความจริง

ท่านได้ปรึกษากับพระสังฆราชดีเอโก ที่ท่านร่วมเดินทางด้วยถึงพันธกิจสำคัญประการนี้ พร้อมๆ กันกับที่คณะซิสเตอร์เซียน ได้รับมอบหมายจากพระสันตะปาปา ให้ทำหน้าที่ในการเทศน์สอนกลุ่มเฮเรติ๊กเหล่านั้น
เนื่องจากความยากลำบากในภารกิจที่มอบหมาย คณะซิสเตอร์เซียนได้ถอนตัวออกจากพันธกิจนี้ และพระสังฆราชดีเอโกแห่งออสมา เพื่อนร่วมงานของท่านสิ้นใจลง แต่ท่านนักบุญดอมินิกไม่ละความพยายามในการให้ความช่วยเหลือเพื่อ “ความรอดของวิญญาณ” ผู้คนเริ่มสนใจในคำเทศน์สอนของท่านมากขึ้น ท่านนักบุญดอมินิกจึงตัดสินใจที่จะรวบรวมคนเหล่านี้เข้าเป็นกลุ่ม ท่านจึงต้องเดินทางไปยังกรุงโรมหลายครั้งเพื่อทำให้พันธกิจในการตั้งคณะนักบวชดอมินิกัน สำเร็จเป็นรูปเป็นร่างและได้รับการรับรองจากสันตะสำนัก จนกระทั่งเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ.1216 พระสันตะปาปาฮอนอรีอุสที่ 3 ได้รับรองคณะดอมินิกัน ซึ่งยึดเอาพระวินัยของนักบุญออกัสติน (The Rule of St.Augustine) เป็นหลักในการดำเนินชีวิตฐานะนักบวช

ท่านนักบุญดอมินิกได้เพียรพยายามในการเทศน์สอน พร้อมทั้งให้การอบรมแก่บุคคลที่สนใจในรูปแบบการดำเนินชีวิตนักบวชดอมินิกันซึ่งมีเป็นจำนวนมาก การก่อตั้งคณะดำเนินไปอย่างเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเมื่อมีการประชุมสมัชชาของคณะ (General Chapter) และมีการรับรองธรรมนูญพระวินัยฉบับแรกของคณะดอมินิกันในการประชุมสมัชชาครั้งที่สอง ที่เมืองโบโลนญา และท่านได้สิ้นใจลงเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1221 ในระหว่างการเดินทางกลับจากสมัชชา
พระสันตะปาปาเกรโกรี่ ที่ 9 สถาปนาท่านเป็นนักบุญ วันฉลองของท่านตรงกับวันที่ 8 สิงหาคม ของทุกปี




Dominican's motto

Dominican's motto
To Bless, To Praise, To Preach